วิธีการเขียนและการพิมพ์รายงาน และวิทยานิพนธ์ สำหรับครู นักเรียน นักศึกษา

วัตถุประสงค์  

  1. คู่มือฉบับนี้จะช่วยให้การเขียนและพิมพ์เอกสาร  มีระเบียบมีมาตรฐานที่ถูกต้องตรงตามที่สถาบันกำหนด ทั้งในวิธีการเขียนและพิมพ์เอกสาร  การตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบการพิมพ์และคำผิดต่างๆ ที่ตรงกับหลักการของสถาบันการศึกษา
  2. แนวทางปฏิบัติเบื้องต้นในเอกสารเล่มนี้ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องยึดถือไว้เป็นมาตรฐาน โปรดศึกษารายละเอียดจากคู่มือให้เข้าใจ ถ้ามีข้อสงสัยให้สอบถามได้ที่ศูนย์สหกิจศึกษาฯ หรือประธานอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาของคณะวิชา

 

การจัดพิมพ์รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

เพื่อให้การจัดทำรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาเป็นไปในแนวทางเดียวกัน นักศึกษาสหกิจศึกษาต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการจัดพิมพ์รายงาน ดังต่อไปนี้

  1. การพิมพ์
    1. กระดาษ  ให้ใช้กระดาษสีขาว ไม่มีลายเส้นบรรทัด  ขนาดกระดาษ A4 มีความหนา 80 แกรม ยกเว้นตารางหรือภาพประกอบอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้กระดาษขนาดต่างไปจากนี้ และพิมพ์หน้าเดียว
    2. ตัวพิมพ์  ให้ใช้ตัวพิมพ์เป็นตัวอักษรสีดำ โดยทำให้มีลักษณะเดียวกันตลอดทั้งเล่ม
    3. การทำสำเนา  โดยวิธีการถ่ายเอกสารหรือวิธีอื่นใดที่มีคุณภาพเทียบเคียง
       
  2. ตัวอักษร และขนาดตัวอักษร
    รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาให้พิมพ์ได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ใช้รูปแบบตัวอักษร Angsana New ตลอดทั้งเล่ม โดยมีระยะห่างระหว่างบรรทัด (Line spacing) เป็นแบบ Single ขนาด (Font size) และรูปแบบตัวอักษร (Font style) ดังนี้
  • ชื่อบท และคำว่า “บทที่...”  ขนาด 20 points. ตัวพิมพ์หนา (Bold)
  • หัวข้อและหมายเลขประจำหัวข้อ  ขนาด 18 points. ตัวพิมพ์หนา (Bold)
  • หัวข้อย่อยและหมายเลขประจำหัวข้อย่อย  ขนาด 16 points. ตัวพิมพ์หนา (Bold)
  • ส่วนเนื้อเรื่อง และรายละเอียดส่วนต่างๆ  ขนาด 16 points. ตัวพิมพ์ธรรมดา (Normal)
  1. การเว้นระยะในการพิมพ์
    1. การเว้นที่ว่างริมขอบกระดาษ
      1. ขอบด้านบน 1.5  นิ้ว
      2. ขอบด้านล่าง 1 นิ้ว
      3. ขอบด้านซ้าย 1.5  นิ้ว
      4. ขอบด้านขวา 1  นิ้ว
    2. การย่อหน้าให้เว้นระยะไปจากแนวปกติ 8 ตัวอักษรโดยเริ่มพิมพ์ที่ตัวอักษรที่ 9
    3. การเว้นที่ว่างระหว่างบรรทัด  ให้เว้นที่ว่างระหว่างบรรทัดเพียง 1 บรรทัด ตลอดรายงาน  ไม่ว่าจะเว้นช่องว่างระหว่างชื่อบท และหัวข้อที่สำคัญ หรือหัวข้อย่อย
    4. การขึ้นหน้าใหม่
      1. ถ้าจะต้องขึ้นย่อหน้าใหม่ แต่มีเนื้อหาที่เหลือเพียง 1 บรรทัดในหน้าเดิมนั้น ให้ยกข้อความนั้นไปเริ่มต้นพิมพ์ใหม่ในหน้าถัดไป
      2. กรณีที่พิมพ์ถึงบรรทัดสุดท้ายของหน้า แต่มีข้อความเหลืออีกไม่เกิน 1 บรรทัด จนจบย่อหน้าเดิม ให้พิมพ์ต่อไปจนจบข้อความย่อหน้านั้น จึงขึ้นย่อหน้าในหน้าถัดไป
         
  2. การจัดตำแหน่งข้อความในหน้ากระดาษ
    การจัดพิมพ์รายละเอียดในส่วนเนื้อเรื่อง โดยทั่วไปควรจัดตำแหน่งข้อความให้ชิดขอบ (Distributed) เพื่อความสวยงาม ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความถูกต้องของข้อความ และความเหมาะสมด้านภาษา ไม่ควรแยกพิมพ์ข้อความ เช่น คำว่า “สหกิจศึกษา”แยกกัน เช่น “สห”อยู่บรรทัดหนึ่ง และ “กิจศึกษา”อยู่อีกบรรทัดหนึ่ง และไม่ควรเว้นช่องว่างระยะห่างของข้อความให้ห่างกันเกินไป
     
  3. การพิมพ์เลขลำดับหน้า
    1. ส่วนนำเรื่อง ในการลำดับหน้าส่วนนำเรื่อง คือ ตั้งแต่หน้าปกใน ไปจนถึงหน้าสุดท้ายก่อนถึงส่วนเนื้อเรื่อง ให้ใช้ตัวเลขอารบิคในเครื่องหมายวงเล็บกลม เช่น (1) (2).....
    2. ส่วนเนื้อเรื่อง การลำดับหน้าส่วนเนื้อเรื่องเป็นต้นไป ให้ใช้ตัวเลขอารบิค 1,2,3.... ตามลำดับ  โดยในหน้าแรกของเนื้อหาแต่ละบท ไม่ต้องพิมพ์เลขหน้า แต่ให้นับจำนวนหน้าด้วย
    3. การจัดวางเลขหน้าทั้งส่วนนำ และส่วนเนื้อเรื่อง ให้พิมพ์ไว้ที่มุมบนขวาของหน้ากระดาษ   ห่างจากขอบบน 0.5 นิ้ว และขอบกระดาษขวา 1 นิ้ว
       
  4. การแบ่งบท และหัวข้อในบท
    1. การแบ่งบท  เมื่อขึ้นบทใหม่ต้องขึ้นหน้าใหม่เสมอ ให้พิมพ์คำว่า “บทที่...”แล้วให้พิมพ์ชื่อบทในบรรทัดถัดมา และจัดตรงกลางหน้ากระดาษ
    2. หัวข้อในบท ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้ายของกระดาษ กรณีมีหัวข้อย่อยให้พิมพ์เว้นระยะเข้าไปจากหัวข้อจัดตามความสวยงาม
       
  5. การพิมพ์ตัวเลข 
    ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขในเนื้อเรื่องหรือตัวเลขลำดับหน้า  การแบ่งบท   และหัวข้อ ให้ใช้ตัวเลขอารบิคเป็นลักษณะเดียวกันโดยตลอด
     
  6. การพิมพ์ และการนำเสนอภาพประกอบต่างๆ
    1. ภาพประกอบ ได้แก่ แผนผัง แผนภูมิ กราฟ ภาพถ่าย ภาพเขียน ฯลฯ ให้พิมพ์ไว้ใต้ภาพ        โดยพิมพ์คำว่า “ภาพที่...”แล้วระบุลำดับที่ของภาพโดยใช้ตัวเลขอารบิค เช่น ภาพที่ 1.1 และกำหนดรูปแบบ ตัวอักษรแบบตัวหนา จากนั้น เว้น 3 ช่วงตัวอักษรแล้วพิมพ์ชื่อภาพหรือคำอธิบายภาพโดยใช้ตัวพิมพ์ธรรมดา จัดให้อยู่กลางหน้ากระดาษ
    2. หากคำอธิบายภาพยาวกว่า 1 บรรทัด ให้แบ่งเป็น 2-3 บรรทัด ตามความเหมาะสม โดยให้อักษรตัวแรกของข้อความในบรรทัดที่ 2 หรือ 3 ตรงกับอักษรตัวแรกของชื่อภาพ หรือคำอธิบายภาพในบรรทัดแรก
       
  7. การพิมพ์ และการนำเสนอตาราง
    1. ขนาดของตาราง ไม่ควรเกินกรอบของหน้ากระดาษ ตารางที่มีความกว้างจนไม่สามารถบรรจุลงในกระดาษหน้าเดียวได้ ให้พิมพ์ตามขวางโดยมีเลขที่ตารางและคำว่า ต่อ ในเครื่องหมายวงเล็บกลม  เช่น ตาราง 1 (ต่อ)
    2. การพิมพ์ลำดับที่ และชื่อของตาราง ให้พิมพ์คำว่า “ตารางที่...”ชิดริมซ้ายมือให้ตรงกับ         ขอบซ้ายของตัวตาราง แล้วระบุลำดับที่ของตารางโดยใช้ตัวเลขอารบิค เช่น “ตารางที่ 1.1” และกำหนดรูปแบบตัวอักษรเป็นตัวหนา จากนั้นให้เว้น 3 ช่วงตัวอักษร แล้วพิมพ์ชื่อตารางโดยใช้ตัวอักษรแบบธรรมดา กรณีที่ชื่อตารางยาวเกินกว่า 1 บรรทัด ให้แบ่งเป็น 2-3 บรรทัด ตามความเหมาะสม

 

ส่วนประกอบการเขียนและการพิมพ์  แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้

  1. ส่วนนำ
    เป็นแนวทางการจัดทำส่วนต้นของเล่ม มีส่วนประกอบดังนี้
    1. ปกนอก จะเป็นปกกระดาษแข็งสีตามคณะวิชากำหนด  ขนาด 16-24 ตามความเหมาะสมสันปกจะมี  ชื่อเรื่อง อักษรย่อปริญญา และปี พ.ศ.
    2. ปกในหน้าอนุมัติ ประกอบด้วย หัวข้อชื่อเรื่อง,  ชื่อ-นามสกุล ตามด้วยชื่อย่อปริญญาและระบุสาขาวิชาในวงเล็บ, ลงชื่อตำแหน่งประธานและกรรมการ
    3. บทสรุปเป็นการสรุปผลการค้นคว้า ความยาวไม่ควรเกิน 2 หน้า พร้อมรูปประกอบการปฏิบัติงานตามรูปแบบที่สถาบันกำหนด
    4. กิตติกรรมประกาศเป็นการแสดงความขอบคุณ เขียนไม่เกิน 2 บรรทัด
    5. สารบัญเป็นรายการแสดงส่วนประกอบที่สำคัญทั้งหมดของเล่ม
    6. รายการตาราง เป็นการแจ้งตำแหน่งหน้าตารางทั้งหมดที่มีอยู่ในเล่ม
    7. รายการรูปประกอบ เป็นการแจ้งตำแหน่งหน้าของรูปประกอบทั้งหมดที่มีอยู่ในเล่ม
    8. รายการสัญลักษณ์ เป็นการอธิบายสัญลักษณ์ต่างๆในเล่ม (ถ้ามี)
    9. ประมวลศัพท์และคำย่อ จะใช้อธิบายขยายความในเล่ม (ถ้ามี)
       
  2. เนื้อความ
    ในการเขียนและพิมพ์เนื้อความ  สามารถเลือกใช้ได้ทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ เนื้อความมีทั้งหมด 5 บท ประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้
    1. บทที่ 1  บทนำ
      1. ชื่อและที่ตั้งของสถานประกอบการ
      2. ลักษณะธุรกิจของสถานประกอบการ หรือการให้บริการหลักขององค์กร
      3. รูปแบบการจัดองค์กรและการบริหารองค์กร 
      4. ตำแหน่งและหน้าที่งานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย
      5. พนักงานที่ปรึกษา และ ตำแหน่งของพนักงานที่ปรึกษา
      6. ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน
      7. วัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติงานหรือโครงงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
      8. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการปฏิบัติงานหรือโครงงานที่ได้รับมอบหมาย
         
    2. บทที่ 2  ทฤษฎีและเทคโนโลยีที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
      โดยการศึกษาจาก แนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับประเด็นของโครงงานในการศึกษาเทคโนโลยี  ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน  ซึ่งอาจจะได้มาจากบทความ  ตำราวิชาการ  งานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ ฯลฯ
       
    3. บทที่ 3 แผนงานการปฏิบัติงานและขั้นตอนการดำเนินงาน
      1. แผนงานปฏิบัติงาน
      2. รายละเอียดงานที่นักศึกษาปฏิบัติในงานสหกิจศึกษา หรือรายละเอียดโครงงานที่ได้รับมอบหมาย
      3. ขั้นตอนการดำเนินงานที่นักศึกษาปฏิบัติงานหรือโครงงาน 
         
    4. บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน  การวิเคราะห์และสรุปผลต่าง ๆ
      1. ขั้นตอนและผลการดำเนินงาน
      2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
      3. วิเคราะห์และวิจารณ์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบผลที่ได้รับกับกับวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติงานหรือการจัดทำโครงการ
         
    5. บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ
      1. สรุปผลการดำเนินงาน
      2. แนวทางการแก้ไขปัญหา
      3. ข้อเสนอแนะจากการดำเนินงาน

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

อ้างอิง
การจัดทำรูปเล่มจะต้องมีรายการเอกสารอ้างอิง  ประกอบด้วย ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ รายชื่อบทความ จากวารสาร หรือ รายงานการประชุมทางวิชาการ ชื่อหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ที่ใช้ในการค้นคว้าประกอบทำรูปเล่ม

  1. ภาคผนวก
    เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น  แต่ไม่เหมาะที่จะรวบรวมไว้ในส่วนเนื้อความ เพราะจะทำให้ยืดเยื้อ
     
  2. ประวัติผู้วิจัย
    ให้เขียนประวัติของนักศึกษา  โดยมีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ ประกอบด้วย
    1. ชื่อ-นามสกุล
    2. วัน เดือน ปีเกิด
    3. ประวัติการศึกษา
    4. ทุนการศึกษา (ถ้ามี)
    5. ประวัติการทำงาน (ถ้ามี)
    6. ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ (ถ้ามี)