4 องค์ประกอบเนรมิตนามบัตรสวยหรู Premium
ที่เห็นๆ นามบัตรมีหลายแบบ แบบของนามบัตรต่างกันยังไง ? กระดาษแบนๆ แผ่นเดียว แต่สวยงามหรูหรา ไม่เหมือนกันค่ะ
นามบัตรที่จัดได้ว่าสวยแบบกลางๆ มีดีไซน์เรียบง่าย องค์ประกอบจัดวางเป็นสัดส่วนมีระเบียบ สีสันสบายตา เนื้อกระดาษไม่บางไม่หยาบ
จนเกินไป ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เห็นได้ด้วยตา สัมผัสได้ด้วยมือค่ะ
นามบัตรสวยหรู มีจริงไหม ?
นามบัตรธรรมดาๆ ถ้าเทียบกับนามบัตรมีระดับ สวยหรูดูดีกว่า สวยชนิดที่เจ้าของนามบัตรต้องเลือกแจกเฉพาะบางคนกันเลยล่ะ ไม่ใช่แจกแหลกไม่เลือกหน้า แต่นามบัตรสวย หรู แพง แจกแค่คนสำคัญเท่านั้นค่ะ เพราะนามบัตรใบนั้น”ไม่ธรรมดา” ผู้เป็นเจ้าของก็ไม่ธรรมดาหรอก - อะไรทำให้นามบัตรดูสวยโดดเด่นสะดุดตา ดูหรูหราไม่เหมือนใคร ต่างจากนามบัตรทั่วไป
3 องค์ประกอบต่อไปนี้ อาจช่วยตัดสินใจได้ว่า คุณอยากได้นามบัตรแบบไหน
1 : กระดาษ
จะว่าไปแล้ว กระดาษพิมพ์เอกสารเนื้อดีสีสวยมีให้เลือกมากมาย ใช้พิมพ์นามบัตรก็คงสวยหรูไม่เบา พอถึงเวลาจะสั่งพิมพ์นามบัตรกลับพูดไม่ออก บอกไม่ถูก จะเอากระดาษแบบไหนถึงจะเหมาะ หรูน้อย หรูปานกลาง หรูหรามากมาย
กระดาษระดับพรีเมี่ยม ต้องมีคุณสมบัติขั้นกว่าคือ ผิวหน้าเรียบกว่า เนื้อกระดาษหนา แข็งแกร่งกว่า ถ้าเป็นกระดาษสีขาว ต้องขาวสวยกว่า ตัวอย่างกระดาษทำนามบัตรพรีเมี่ยม
นามบัตรกระดาษอาร์ตการ์ดยอดฮิต
กระดาษอาร์ตการ์ด : เรายกกระดาษอาร์ตการ์ดมาเป็นตัวเลือกในกลุ่มพรีเมี่ยม ในฐานะที่เป็นกระดาษฮอตฮิตยอดนิยม สำหรับงานพิมพ์นามบัตร ด้วยลักษณะเนื้อกระดาษยิ่งหนายิ่งดูดี ส่วนใหญ่นิยมแบบหนาปานกลาง 250 แกรม หรือหนาเหนียวขึ้น 300-350 แกรม กระดาษอาร์ตการ์ดมีคุณสมบัติด้านความเหนียว เรียบ ได้มาตรฐาน ไม่งอไม่หัก ไม่ยับง่าย ไม่สะท้อนแสง
กระดาษอาร์ตมัน : นามบัตรกระดาษอาร์ตมันได้รับความนิยมเช่นกัน ส่วนใหญ่เลือกกระดาษเนื้อหนาปานกลาง 250--300 แกรม
นามบัตรกระดาษแบบพิเศษ
กระดาษแบบพิเศษ มีความพิเศษที่สัมผัสได้ เห็นความแตกต่างโดยเฉพาะความสวยและโดดเด่น ไม่เหมือนใคร เช่น กระดาษพิมพ์ลาย กระดาษคราฟท์ ด้วยลักษณะของเนื้อกระดาษสีน้ำตาล รวมถึงกระดาษคราฟ์แบบพิมพ์ลายมีความสวยหรู คลาสสิก มีสไตล์โดดเด่นไม่เหมือนใคร นอกจากนี้ยังมีกระดาษขาวแบบพิเศษอีกมากมายให้เลือกใช้พิมพ์นามบัตร
กระดาษนำเข้า กระดาษพิเศษนำเข้าจากต่างประเทศ มีหลายแบบ สวยงาม โดดเด่นต่างกันไป เช่น ...
กระดาษคองเคอร์เรอร์ (Conqueror) ของฝรั่งเศส เป็นกระดาษเนื้อหนา สีขาวสวย เนื้อกระดาษไม่ซีดเหลืองเมื่อเก็บไว้นาน
กระดาษมาร์ชมาโลว (Marshmallow) กระดาษแบรนด์ญี่ปุ่น เนื้อด้านน้ำหนักเบา สียอดนิยมคือสีขาวหรือสีโทนอ่อนเช่น สีไขไก่
กระดาษท็อปโค้ต ของญี่ปุ่น จุดเด่นคือผิวหน้าเรียบลื่น มีเงาสะท้อนเพียงเล็กน้อย
กระดาษอาร์ตแก้ว กระดาษของประเทศอินโดนีเซีย ผิวกระดาษต่างกันสองด้าน ขัดเงาที่ด้านหน้าแต่ด้านหลังไม่เคลือบ
กระดาษเมทัลลิค (Metallic) เนื้อกระดาษประกายมุก เงาวับ สวยงามเป็นพิเศษ นำเข้าจากประเทศอิตาลี นิยมใช้พิมพ์ภาพถ่าย
2 : งานเคลือบ
กระดาษทุกชนิดสามารถซึมซับน้ำได้อย่างดียิ่ง จึงเปียก เปื่อยและฉีกขาดง่าย
การพิมพ์นามบัตร เพิ่มกระบวนการเคลือบ เช่นการเคลือบด้าน เคลือบเงาบนผิวกระดาษ ผิวหน้ากระดาษดูเรียบสวย ทนทานต่อการขูดขีด ไม่พับหรือหักง่าย กันน้ำซึมผ่านได้ในระดับที่น่าพอใจ ดังนั้น การเคลือบเป็นกระบวนที่จำเป็นและมีประโยชน์ และให้ผลดีกว่าไม่เคลือบ
ตัวอย่างงานเคลือบ
เคลือบลามิเนต (laminate) หรือเคลือบ OPP เป็นการเคลือบโดยใช้กาวและความร้อนในการอัดฟิล์มพลาสติกแผ่นบางๆ เคลือบลงบนผิวกระดาษ (ไม่เหมาะกับกระดาษเนื้อบาง) การเคลือบลามิเนตมีหลายแบบ ได้แก่ แบบเคลือบด้าน (Matt Opp. Lamination) การเคลือบเงา (Gloss Opp. Lamination) การเคลือบลามิเนตฟอยล์เงา (Metallized Foil Lamination) การเคลือบลามิเนตลาย (Hologram Foil Lamination)
เคลือบ Spot uv นิยมเคลือบเฉพาะส่วน เฉพาะตำแหน่ง ที่ต้องการเน้นให้เห็นง่าย เด่น สะดุดตา เช่น การเคลือบในตำแหน่งปั๊มนูน
เคลือบที่ข้อความ โลโก้ ส่วนผิวกระดาษนิยมเคลือบ PVC ร่วมด้วย
เคลือบ PVC ด้าน คือการเคลือบด้านบนผิวกระดาษลักษณะเหมือนฝ้า
เคลือบ PVC เงา คือการเคลือบฟิล์ม PVC ผิวกระดาษเรียบ มีเงา มันแวววาว
เคลือบ UV การเคลือบด้วยน้ำยาเพิ่มความเงางามบนกระดาษทั้งแผ่น เช่น โบชัวร์ ปกนิตยสาร ฉลาก
3 : งานออกแบบ (Design)
ลักษณะการออกแบบนามบัตร สื่อความคิดสร้างสรรค์ รสนิยมและความเป็นเอกลักษณ์ น่าสนใจ ทั้งการเลือกแบบตัวอักษร
สีตัวอักษร สีของโลโก้และรูปภาพ
3.1 ทฤษฎีวรรณสี
วรรณะสีสำหรับงานออกแบบ
➾ วรรณะสีเย็น (Cold Tone) ให้ความรู้สึกสดชื่น เย็นสบาย
สีวรรณเย็น 7 สี คือ สีเหลือง , สีเหลืองเขียว , สีเขียว, สีน้ำเงิน, สีน้ำเงิน-เขียว , สีน้ำเงิน, สีน้ำเงินม่วง, สีม่วง
➾ วรรณะสีร้อน (Warm Tone) ให้ความรู้สึกอบอุ่น ร้อนแรง สนุกสนาน
สีวรรณร้อน 7 สี ได้แก่ สีแดง, สีม่วง, สีม่วงแดง, สีส้ม, สีแดงส้ม, สีเหลือง, สีส้มเหลือง
สีกลาง (Muddy Colors) นิยมใช้กับงานออกแบบเพราะเข้าได้กับทุกสี สีกลางเป็นสีที่เพิ่มความสวยงาม
ชวยจัดระเบียบ ปรับให้สีอื่นๆ ในชิ้นงานมีน้ำหนักสมดุลกัน ไม่ตัดและไม่กลืนกันจนเกินไป
สีกลาง 4 สีได้แก่ สีดำ สีขาว สีเทา สีน้ำตาล
➾ สี 2 วรรณะ ร้อน / เย็น คือ สีที่เป็นทั้งวรรณร้อนและวรรณเย็น มีสองสีได้แก่ สีเหลือง, สีม่วง คุณสมบัตรสีสองวรรณ จะให้ความรู้สึกร้อนเย็นตามสภาพแวดล้อม
3.2 รูปแบบตัวอักษร ตัวอักษร (Font) เป็นองค์ประกอบหลักของงานออกแบบนามบัตร ด้วยรูปลักษณ์ของเส้นตัวอักษร มองเสมือนรูปภาพ การพิมพ์อักษรหลายตัว จึงคล้ายๆ การวางหลายๆ ภาพเรียงกันไว้ในพื้นที่บนนามบัตรทีมีอยู่อย่างจำกัด
ลักษณะตัวอักษรภาษาไทย มีความแตกต่างสังเกตเห็นได้ชัด คืออักษรแบบมีหัว กับอักษรแบบไม่มีหัว
หัวของตัวอักษรไทย มีทั้งแบบกลม วงรี กึ่งสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม การพิมพ์ข้อความลงในนามบัตรขนาดมาตรฐาน 9 x 5.5 ซม.
จำเป็นต้องเลือกขนาดตัวอักษรที่อ่านง่าย ลายเส้นชัดเจนเมื่อต้องพิมพ์ตัวเล็ก ซึ่งอักษรมีหัวบางตัวสามารถอ่านออกง่ายเมื่อมีขนาดเล็ก ขณะเดียวกัน อักษรภาษาไทยแบบไม่มีหัว แต่พิมพ์ตัวเล็ก อ่านออกง่ายก็ได้รับความนิยม และมักจะดูดีกว่าแบบมีหัว ลายเส้นเฉียบคมชัดกว่า
รูปทรงของตัวอักษรสวยงามกว่า มีหลากหลายแบบให้เลือก เช่น นามบัตรของผู้บริหาร อาจเลือกตัวอักษรไม่มีหัว ตัวกลม หรือเหลี่ยมที่สะท้อนความแข็งแกร่ง มั่นคง หรือนามบัตรร้านกาแฟ อาจเลือกตัวอักษรที่แบบสวยๆ ดูผ่อนคลาย หรือจะแบบน่ารักดูเป็นมิตร เป็นต้น
3.3 โลโก้
โลโก้ เป็นสัญลักษณ์บอกตัวตน เป็นเอกลักษณ์ตอกย้ำให้จดจำ เป็นชิ้นงานที่ผ่านการออกแบบมาอย่างอิสระ ตามสไตล์ อาจเป็นรูป หรือรูปผสมกลืนกับตัวอักษร โลโก้จึงมีรูปร่างรูปทรงไม่ต่างจากภาพ เป็นส่วนประกอบหลักที่ต้องพิจารณาหาแบบตัวอักษรที่จะต้องพิมพ์ข้อมูลต่างๆ ลงนามบัตร ควรจะกลมกลืน ดูไม่ขัดกับลักษณะโลโก้
3 : งานไดคัทและงานพิมพ์
งานไดคัท หรือการตัดแต่งกระดาษ เพื่อประกอบขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์รวมถึสิ่งพิมพ์อื่นๆ เช่น แฟ้ม แผ่นป้าย และนามบัตร
นามบัตร ไม่จำเป็นต้องเป็นสีเหลี่ยมเท่านั้น ขอบ-และมุมของนาามบัตร สามารถตัด แต่งให้โค้งมน หยัก ตัดเป็นรูปตัวอักษณ
ตัดเฉียงหรือตัดเป็นรูปต่างๆ ได้ตามต้องการ คล้ายโมเดลกระดาษ หรือสื่อการสอนกระดาษ
งานพิมพ์ เทคนิคการพิมพ์เป็นองค์ความรู้ เกี่ยวข้องกับงานออกแบบ กำหนดแบบตัวอักษรและรูปภาพ ผลงานตรงตามความต้องการ ที่คาดหวังหรือจินตนาการไว้
พิมพ์ระบบ offset , Digital offset , Silkscreen เป็นตัวเลือกที่ดี เมื่อต้องการงานพิมพ์สไตล์หรูหรา คมชัด และสีสันสวยงาม
เทคนิคพิเศษอื่นๆ เช่น การปั้มนูน,ปั้มจม,ปั้มเคเงิน,เคทอง, เคสีต่าง ๆ การเคลือบเงา เคลือบ Spot UV เฉพาะจุด
งานไดคัทและงานพิมพ์ เป็นขั้นตอนสำคัญ ที่จะเนรมิตสรรสร้างนามบัตรในแบบที่สวยงามเป็นพิเศษ สำหรับคนพิเศษ
การจัดองค์ประกอบ
ปิดท้ายด้วยเรื่ององค์ประกอบศิลป์ การจัดวางทุกสิ่งอย่างที่กล่าวมาข้างต้นอย่างลงตัว
การจัด Layout วางองค์ประกอบทุกส่วนลงตัว สิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์สวยงามหรูหรา การันตีความเป็นมืออาชีพในงานดีไซน์ได้อย่างดี
ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ มุมมอง รสนิยม บนพื้นฐานความเข้าใจเรื่องวัสดุ, พื้นที่ ตำแหน่งจัดวาง, ขนาดและสีสัน ปรากฎเป็นผลงานที่มีระเบียบแต่แฝงความสวยงาม ไม่รกหูรกตา ซึ่งองค์ประกอบทุกชิ้น ไม่จำเป็นต้องเด่น และไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ทุกกระเบียดนิ้ว เพราะพื้นที่ว่าง เป็นองค์ประกอบสำคัญในงานดีไซน์เช่นกัน
แวะทักทายปิ๊งไอเดีย https://www.facebook.com/printingidea/
ฝากกดแชร์กด Like ด้วยนะคะ