วิธีวัดขนาดกล่องกระดาษ
ขนาดของกล่องใส่สินค้า เป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญ สำหรับการออกแบบและผลิตกล่องกระดาษที่มีขนาดเหมาะสม ถูกต้องแม่นยำ
ขนาดกล่องกระดาษที่เหมาะสม คือขนาดที่ใช้บรรจุสินค้าได้พอดีและสวยงาม
📦 ขนาดกล่องที่ไม่เหมาะสม เช่น กล่องเล็กเกินไป ใส่สินค้าเบียดอัดกันแน่นเกินไป ไม่มีช่องว่างแม้แต่จะสอดนิ้วเพื่อหยิบสินค้าออกจากกล่อง หรือกล่องใหญ่เกินไป เหลือพื้นที่ว่างมากเกินไปจนสินค้าที่บรรจุในกล่องกลิ้งไปมาเสี่ยงแตกหักเสียหาย ถึงแม้ว่าในกระบวนการผลิตกล่อง สามารถเพิ่มซัพพอร์ทไว้ด้านในกล่องเพื่อช่วยยึดสินค้าไว้กับที่ แต่ต้นทุนการผลิตก็สูงขึ้นเช่นกันค่ะ ดังนั้น การออกแบบและผลิตกล่องใส่สินค้าขนาดบรรจุสินค้าได้พอดี จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
เมื่อพูดถึงกล่องกระดาษ/กล่องใส่สินค้า เรามักนึกถึงกล่องทรงสี่เหลี่ยมในแบบต่างๆ เช่น กล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส กล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า กล่องสี่เหลี่ยมแบนๆ กล่องสี่เหลี่ยมทรงสูง กล่องสี่เหลี่ยมทุกแบบ ใช้สูตรวัด / กำหนดขนาด คือ 👉
📦 กว้าง (W) x ยาว (L) x ลึก/สูง (D / H) 👉 Width x Length x Depth/Height
ความเข้าใจผิดเรื่องการกำหนด/วัดขนาดกล่อง
การกำหนดขนาดกล่องด้วยความเข้าใจผิดสามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากลักษณะของกล่องสี่เหลี่ยม มีด้าน 4 ด้าน มุม 4 มุม มีส่วนก้นกล่องและฝากล่อง ซึ่งอาจสร้างความสับสนในการวัดหาค่าตำแหน่งต่างๆ
วิธีวางกล่องเพื่อกำหนด / วัดขนาด
วิธีวางกล่องที่ถูกต้อง ช่วยให้การเริ่มต้นกำหนดตำแหน่ง เพื่อวัดหาขนาดของกล่องได้ง่ายขึ้น
จากมุมมองภาพวาด ตัวอย่างกล่องทั้ง 3 แบบ กล่องสี่เหลี่ยม กล่องทรงแบนและกล่องทรงสูง
แสดงวิธีวางกล่อง ในลักษณะ ก้นกล่องแนบกับพื้น ฝากล่องอยู่ตรงข้าม (อยู่บนสุด)
จากนั้น เริ่มต้นกำหนด / หาค่า กว้าง x ยาว จากส่วนก้นกล่องเสมอ
กล่องสี่เหลี่ยมตัวอย่างทั้ง 3 แบบนี้ใช้สูตรกำหนด / หาขนาด ตามรายละเอียดในภาพ ดังนี้ 👇
📦 วิธีวัดกำหนด/หาขนาดกล่องสี่เหลี่ยม Square boxs
สูตร กว้าง (W) x ยาว (L) x ลึก / สูง (D / H)
📦 วิธีวัดกำหนด/หาขนาดกล่องทรงแบน Flat Boxes
สูตร กว้าง (W) x ยาว (L) x ลึก / สูง (D / H)
📦 วิธีวัดกำหนด/หาขนาดกล่องทรงสูง Tall Boxes
สูตร กว้าง (W) x ยาว (L) x ลึก / สูง (D / H)
ความเข้าใจผิดที่พบบ่อย ลูกค้ามักเข้าใจว่า ความลึกของกล่อง กำหนดที่ค่าความยาวของกล่อง (L)
ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดค่ะ เพราะความลึก/ ความสูงของกล่อง คือค่า D ดังภาพตัวอย่าง จะเห็นว่าค่าความลึก Depth กับความสูง Height เป็นค่าเดียวกัน
ส่วนก้นกล่องคือส่วน W x L อาจจำง่ายๆ จากลักษณะกล่องทรงสูงได้ว่า ความลึกของกล่องทรงสูง คือส่วนที่เราจะกำหนดความยาวได้มากที่สุดนั่นเอง ในขั้นตอนการออกแบบเราจึงกำหนดที่ค่าความลึก เมื่อต้องการกล่องกระดาษที่จุสินค้าได้มากๆ